นิทรรศการภาพถ่าย

" มุมมองผู้ป่วย "

พ.ศ. 2578 เป็นปีที่คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสูงสุด (Super Aged Socicty)

ที่จะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพและโรคเรื้อรังต่าง ๆ ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วกำลังเผชิญสถานการณ์จากภาวะสังคมผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และ ผู้ป่วยระยะท้าย ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากทั้งทางกายและใจ ผู้ป่วยที่มีกำลังจ่ายอาจจะยังพอจ่ายเงินซื้อบริการบ้านพักผู้สูงอายุหรือโรงพยาบาลได้ ส่วนผู้ไม่มีกำลังจ่ายก็ต้องทนทุกข์

ภาวะดังกล่าวเป็นทั้งวิกฤตของผู้ป่วยระยะท้าย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสพลิกฟื้นภูมิปัญญา ในการดูแลการตายและความสูญเสียของชุมชน 

การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้อยู่และตายดีในชุมชนไม่ใช่สิ่งใหม่ หากเป็นสิ่งสามัญที่เคยดำรงอยู่มาก่อนที่การแพทย์สมัยใหม่จะเกิดขึ้น ความทุกข์ของเพื่อนที่กำลังสบตากับความตาย เรียกร้องให้สมาชิกหันมาดูแลใส่ใจกันและกัน ผลลัพธ์จากการสร้างวงล้อมที่โอบอุ้มการดูแลไม่เพียงช่วยให้เพื่อนของเราจากไปอย่างสงบเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามั่นใจในการดูแลความทุกข์จากความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสียของตัวเราและคนที่เรารักอีกด้วย

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care)

เป็นโมเดลในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนกรุณา เปรียบวงล้อมการดูแลเป็นวงกลมที่โอบกันเป็นชั้น มีจุดศูนย์กลางคือ ผู้เผชิญความทุกข์ ซึ่งในที่นี้คือผู้เผชิญความเจ็บป่วยร้ายแรง (PERSON WITH SERIOUS ILLNESS) คือใจกลางของการดูแล โดยมีองคาพยพอื่น ๆ โอบดูแลเป็นชั้น ๆ

นิทรรศการภาพถ่าย “มุมมองผู้ป่วย”

จัดแสดงภาพถ่ายที่สะท้อนมุมมองของผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (palliative care) ที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตและโลกของผู้ป่วยมากขึ้น เชิญชวนทุกคนในวงล้อมแห่งการดูแล (Circles of care) เข้ามามีประสบการณ์แห่งการดูแลผ่านภาพถ่าย

ปัจจุบันหลายครอบครัวอาจเข้าใจว่า เมื่อเราประสบความเจ็บป่วยคุกคามชีวิต ภารกิจสำคัญมีเพียงการส่งให้ผู้ป่วยเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาล ที่เหลือเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะมาดูแลต่อจนผู้ป่วยเสียชีวิต ความคาดหวังนี้ยากจะเป็นจริงในระบบสุขภาพปัจจุบัน เพราะ

แนวคิดชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี

ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) คือ แนวคิดและปฏิบัติการทางสังคมเชิงส่งเสริมป้องกัน  ลดผลกระทบ และสนับสนุนให้บุคคลและชุมชนมีความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ให้สามารถรับมือกับความทุกข์จากความเจ็บป่วย การดูแล การตาย และความสูญเสีย  บนพื้นฐานของความกรุณา การสร้างการมีส่วนร่วม  การคำนึงถึงนิเวศชุมชน และความเป็นธรรมทางสังคม การขับเคลื่อนชุมชนกรุณาสามารถทำงานให้ความช่วยเหลือในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มองค์กร  ระดับโครงสร้างนโยบาย หรือในระดับวัฒนธรรมของสังคม

เครือข่ายกระบวนกรชุมชนภาคเหนือ

เกิดขึ้นมาจากการที่กลุ่ม PEACEFUL DEATH เห็นว่าการส่งเสริมการสร้างชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดีนั้น จำต้องมีกลุ่มคนที่มีทักษะในการชวนคิด ชวนคุย ชวนสร้างสรรค์กิจกรรมเรื่องการอยู่และตายดี จึงได้จัดการอบรมสร้างกระบวนกรชุมชนทั้งในรูปแบบ ONLINE และ ON-SITE  นับตั้งปี พ.ศ. 2562 มีผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้กว่า 100 คน ทั้งที่เป็นบุคลากรทางสุขภาพ บุคลากรทางการศึกษา นักพัฒนา และบุคคลทั่วไป เกิดการทำงานเป็นเครือข่าย แลกเปลี่ยนข้อมูล ต่อยอดการทำงานสร้างสรรค์เพื่อการอยู่และตายดีเรื่อยมา

การพัฒนาชุมชนกรุณาก็คือการพัฒนาวงล้อมการดูแลชั้นต่าง ๆ ให้มีความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการผู้ป่วยและองคาพยพที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงควรส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยให้มากที่สุดในระดับประชากร มีเครือข่ายดูแลในชุมชนที่เข้มแข็ง หากเกินมือจึงปรึกษาส่งต่อให้บริการสุขภาพดูแลความทุกข์ที่ซับซ้อนและต้องใช้ความเชี่ยวชาญในระดับมืออาชีพเข้ามาช่วย ผู้ให้บริการสุขภาพจะได้ทำหน้าที่ของเขาตามความรู้และความเชี่ยวชาญที่ได้เรียนมา

ชุมชนก็จะได้ฟื้นภูมิปัญญา ฟื้นความเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถดูแล และผ่านพ้นความทุกข์จากความเจ็บป่วยระยะสุดท้ายได้ด้วยความช่วยเหลือของกันและกัน ช่วยให้ การจากไปอย่างสุขสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็ไม่ไกลเกินเอื้อม แทนที่จะพึ่งพาการดูแลโดยบริการสุขภาพเท่านั้น ควรหันมาฟื้นความเข้มแข็งของเครือข่ายการดูแลภาคชุมชน ทั้งเครือข่ายการดูแลวงใน วงนอก และชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย มีการเชื่อมประสานงานส่งต่อทั้งขณะที่ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้าย และเครือข่ายดูแลที่ทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันด้วย

วิธีการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคชุมชน คือ การถามกันและกันว่าผู้ป่วยต้องการอะไร ใครในเครือข่ายวงในของวงล้อมแห่งการดูแล (CIRCLES OF CARE) ตอบสนองได้บ้าง ถ้าวงแรกตอบสนองไม่ได้ ก็ถามวงถัดมาว่าใครจะดูแลความต้องการของผู้ป่วยได้บ้าง ถามเช่นนี้เป็นชั้น ๆ และถ้าไม่มีใครตอบได้เลย ก็ถึงเวลาที่ต้องพัฒนากิจกรรม แผนงาน โครงการ ที่จะมาตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย

ตัวอย่างการทำงานพื้นที่ชุมชนกรุณา

ชุมชนกรุณาลำปาง

เน้นการสร้างการรับรู้เรื่องการเตรียมตัวเผชิญกับความเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต ความพลัดพราก  สูญเสีย ผ่านกิจกรรม การอบรมและงานจิตอาสา  สร้างทีมงานในพื้นที่ ทั้งผู้ที่สนใจแต่ไม่ได้มีหน้าที่  รับผิดชอบโดยตรง และทำงานกับผู้ปฏิบัติงานในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมฯ (พม.) ร่วมถึง อสม.

มุ่งทำงานกับคนทุกเพศทุกวัยอย่างต่อเนื่องและเปิดพื้นที่ทำงานใหม่ที่น่าสนใจ เช่น การทำงานที่ต่อเนื่องกับศูนย์บริการสาธารณสุข บ้านศรีหมวดเกล้า อ.เมือง จ.ลำปาง เริ่มต้นจากการมาเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ จากนั้นได้เชื้อเชิญให้ทีมขะไจ๋เข้าไปเผยแพร่ความรู้ให้กับ อสม. ผู้สูงอายุในชุมชน ก่อนจะให้ อสม. มาฝึกอบรมทักษะกระบวนกรชุมชน และลงไปใช้เครื่องมือด้วยกันในชุมชน

ชุมชนกรุณาแม่สรวย

การทำงานที่แม่สรวย จ.เชียงราย เริ่มต้นจากการหาข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับงาน PALLIATIVE CARE ในชุมชน มีการประสานความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลและชุมชน ในการทำงานร่วมกันเผยแพร่ความรู้และเครื่องมือ ให้กับทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในชุมชน จนทำให้สามารถเข้าไปร่วมทำงานกับโรงพยาบาลแม่สรวย

ปัจจุบันได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการวางแผนดูแลล่วงหน้า การดูแลใจผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล

ชุมชนกรุณาเชียงใหม่

พื้นที่การทำงานที่เชียงใหม่ เริ่มจากการติดอาวุธเรื่องเครื่องมือในการวางแผนดูแล่วงหน้า การดูแลใจให้กับทีมงานที่ทำงานเรื่องผู้พิการ เรื่องผู้ป่วยในชุมชนอยู่แล้ว ลงเยี่ยมบ้านด้วยกัน สนับสนุนกันในการใช้เครื่องมือ

สำหรับทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย และขยายการทำงานไปยังกลุ่มอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

งานที่เป็นรูปธรรมคือการทำงานในพื้นที่พญาชมภูและขยายต่อให้กับเครือข่ายที่ทำงานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยชุมชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของชุมชนกรุณาทั้ง 3 พื้นที่ ได้ที่ FACEBOOK.COM/COMMUNITYKAJAI