โดยทาง อบต.ดอนแก้วเอง เริ่มจากการที่มีต้นทุนของชุมชน เป็นการใช้วัฒนธรรมจิตอาสาในการดูแลชุมชน อีกทั้งยังเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท วิถีความเป็นชุมชน ความเอื้ออาทรกันยังคงอยู่ การทำงานจิตอาสานั้น มีการสร้างความเข้มแข็งให้กับจิตอาสา เกิดการบ่มเพาะการดูแลซึ่งกันและกันของคนในชุมชน ซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจ แก้ไขและจัดการปัญหาต่างๆได้โดยชุมชน ยกตัวอย่างสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงมีนโยบาย ดอนแก้ว ตำบลแห่งสุขภาวะ ทั้งสุขภาวะทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา เกิดหลักสูตรการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนถึง 3 หลักสูตร ได้แก่
การเตรียมตัวก่อนสูงวัย สำหรับคนอายุ 50 - 59 ปี
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรที่ให้ผู้สูงวัยได้เรียนรู้จากเพื่อน ๆ
การเตรียมตัวก่อนตาย จัดการเรียนรู้ให้กับทุกคนในชุมชนที่สนใจ
มีการถ่ายทอดวิธีการทำงานให้เพื่อน ๆในตำบลอื่น ๆ เกิดเครือข่ายชุมชนสุขภาวะ มีสมุดอุ่นใจหรือเครื่องมือเพื่อการอยู่และตายดีอื่น ๆ ที่คนในชุมชนออกแบบร่วมกัน โดยทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานในองค์กรและนอกองค์กร ทั้งอาสาสมัครและส่วนต่าง ๆ ของชุมชน ต่างมีส่วนร่วมในการทำงานดูแลประชาชนให้ครบวงจร แม้จะแบ่งกันรับผิดชอบการทำงาน แต่ก็มีการวางเป้าหมายร่วมกัน
ส่วนพื้นที่จังหวัดน่านนั้น มีต้นทุนจากการสานสัมพันธ์ของเครือข่ายชุมชน ทางร.พ.ร่วมทำงานกับชุมชน อย่างแนบแน่น มีความเข้มแข็ง พึ่งพาอาศัยกันมาตลอด ดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงวาระสุดท้าย ทั้งนี้การทำงานจริงจังมากขึ้น เมื่อมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมาทำงานโดยใช้แนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว มาทำงานกับชุมชน รวมถึงนายกเทศมนตรีมีนโยบายเมืองน่าน เมืองแห่งคนอายุยืน ซึ่งทาง อปท. ก็ขอความร่วมมือ ทำงานกับทาง ร.พ. น่าน นำมาสู่การวางนโยบายที่สนับสนุนให้คนอายุยืน เมืองปลอดภัย คนสามารถไปถึงอายุขัยเฉลี่ยที่ตั้งไว้ โดยคนที่อายุยืนแบบสุขภาพดี และได้ตายดีด้วย โดยการทำงานเรื่องระยะท้าย “อยู่สบาย จากไปอย่างสงบ” ขยายความคิดไปยังผู้นำชุมชน อสม. ชมรมผู้สูงอายุ คนที่เป็นแกนนำ ขับเคลื่อนชุมชน ขยายแนวคิดไปเรื่อยๆไปยังบุคลากรสุขภาพ พระสงฆ์ เน้นประเด็นสำคัญ คือ ความเข้าใจเรื่องการดูแลประคับประคอง การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ถูกต้อง มีการสนับสนุนดูแลความสุขสบายในช่วงท้ายตามเจตนารมย์ของผู้ป่วย ทำให้ประชาชนมั่นใจว่า ร.พ.ยังดูแลจนกว่าจะถึงวาระท้าย และเห็นความสำคัญของการวางแผนดูแลล่วงหน้า เมื่อมีการแสดงเจตจำนงแล้วก็มีการบันทึกข้อมูลและนำไปใช้ในการรักษา การดูแลช่วงท้ายใน ร.พ.ด้วย
ทีมขะไจ๋ เป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องชีวิตและความตาย อยากทำให้ชุมชนที่เราอยู่เอื้อต่อการอยู่และตายดี ทาง Peaceful Death ชวนมาทำงานด้วยความแนวคิดชุมชนกรุณาฯ ทดลองทำในพื้นที่ของตัวเองบนแนวคิดที่ว่า เราเองมีโอกาสอยู่ในทั้งบทบาทผู้ป่วย ผู้ดูแล คนตาย คนที่สูญเสีย ทำเพื่อสนับสนุนให้คนเข้าถึงสิทธิ์ที่ควรจะได้รับทั้งการรักษาพยาบาล การดูแลสุขภาพ การดูแลช่วงท้ายของชีวิต หรืออื่นๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลดความโดดเดี่ยวของคนเมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย ความตาย ฟื้นศักยภาพของชุมชนในการดูแลกัน ชวนคนในชุมชนมาเรียนรู้เครื่องมือและนำไปใช้งาน เชื่อมการทำงานกับเครือข่ายเดิมที่ตนมี เป็นผู้ประสานงาน สื่อสาร ไปยังหน่วยงาน ผู้คนที่สนับสนุน ใช้ทั้งองค์ความรู้ เครื่องมือของ Peaceful Death ในการทำงานแหละขยายผลการทำงานไปยังคนกลุ่มต่างๆมากขึ้น เช่น การทำงานกับเด็กและเยาวชน มีการทำงานชุมชนกรุณาออนไลน์ การประยุกต์ใช้เครื่องมือของ Peaceful Death มาดูแลใจกัน มาทำกิจกรรมในช่องทางออนไลน์
ทุนทางสังคมของชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพ ค้นหาทุนทางสังคมเรื่อย ๆ สม่ำเสมอ สร้างให้เกิดเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ค้นหาคนที่พร้อมมีส่วนร่วม เกิดวิทยาลัยจิตอาสา มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง
บุคลากรมีความจริงใจในการทำงานร่วมกับชุมชน มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ได้ทดลองใช้เครื่องมือต่างๆก่อนจะนำไปขยายผล มีทางเลือกที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
คนที่จะนำไปใช้ มีทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดกับชุมชนด้วย เช่น เรื่องความตาย ทำอย่างไรให้คนที่ยังอยู่ อยู่โดยไม่ทุกข์ พูดโดยยกตัวอย่างเชิงประจักษ์ และทำให้ถูกคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล
ทำงานร่วมกับชุมชนในทุกเรื่องโดยมองว่า ทุกเรื่อง ทุกประเด็นเกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งนั้น ทำให้เข้าใจคน เข้าใจมิติของชีวิต เข้าใจเรื่องสุขภาพ ขับเคลื่อนให้เกิดนโยบาย
ใช้ข้อมูล สถิติในการทำงาน นำมาสื่อสารให้ชัดเจน ทำแคมเปญที่ท้าทาย คืนข้อมูลให้ชุมชน ใช้การมีส่วนร่วม และการจัดการเชิงระบบ
ทำงานบนความเชื่อมั่นในแนวคิดเดียวกัน มีการประชุม สื่อสาร พูดคุย สรุปบทเรียน ไถ่ถามทุกข์สุข ดูแลกันทุกเรื่องในชีวิต ดูแลกันและกันในเรื่องงาน ชีวิตและใจ
มีเครือข่ายทั้งทีม Peaceful Death และกัลป์ยาณมิตรอื่น ๆ ที่สนับสนุนการทำงานอยู่และตายดี
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ความป่วย ความตาย เป็นเรื่องที่ต้องแสวงหาความร่วมมือหรือคำตอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยองค์ความรู้หรือวิธีการทำงานที่คนทำงานมีอยู่ แนวคิดที่เราทำอยู่ตอบสนองสถานการณ์ได้
ความต่อเนื่องในการทำงาน การเกิดผลของการทำงาน การประยุกต์ใช้ การทำให้เห็นผลจริง จนเกิดตัวอย่าง
ออกแบบการทำงานที่มุ่งเป้าหมายเรื่องการอยู่และตายดีอย่างละเอียด
ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลเรื่องการอยู่และตายดีของคนในชุมชน
ประชาชนเป็น active citizen มีส่วนร่วมในการเกื้อกูลกัน
สื่อสารเรื่องการอยู่และตายดีในวงกว้าง กับคนกลุ่มต่างๆให้มากขึ้น ผ่านเครือข่ายที่มี เช่น นักสุขศึกษาหรือนักสื่อสารมวลชน
ทำให้คนตระหนักถึงเรื่องชีวิตและความตาย ทุกคนรับรู้ว่ามีสิทธิในการเลือกการดูแลในช่วงระยะท้ายของชีวิต
สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง มีพื้นที่ให้คนทุกเพศทุกวัยได้ใช้เวลา ใช้ชีวิตร่วมกัน สานความสัมพันธ์ให้เอื้ออาทรกัน จะได้มีทุนมาช่วยเหลือกันเมื่อมีความเจ็บป่วย ความตายเกิดขึ้นในชุมชน