Lampang MOVE

เชิญชวนกลุ่มเด็กและเยาวชน เสนอโครงการเพื่อรับการสนับทุนดำเนินงาน โครงการ “พลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์เมืองลำปาง”

หน่วยจัดการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง โดยการสนับสนุนของสำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินโครงการ “พลังเด็กและเยาวชนสร้างเสริมสุขภาวะอย่างสร้างสรรค์เมืองลำปางหรือ LAMPANG MOVE ที่ M คือ movement มุ่งส่งเสริมขบวนการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนที่สร้างสรรค์ O คือ opportunity มุ่งขยายโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนในจังหวัดลำปางได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ V คือ volunteer อาสาสมัคร จิตอาสา มุ่งเปิดพื้นที่ให้กับคนลำปางที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ในประเด็นที่เด็กและเยาวชนสนใจอยากจะพัฒนา E คือ engagement มุ่งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับผู้คน หน่วยงาน ทุกระดับ ทุกภาคส่วนในจังหวัดลำปาง ที่ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองลำปางผ่านกระบวนการทำงานของเด็กและเยาวชน หน่วยจัดสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง จึงตั้งใจที่จะออกแบบกระบวนการที่จะทำให้ความคิดแบบเด็ก ๆ มีพลัง โดยให้ความคิดแบบเด็ก ๆ ได้ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน และกระบวนการทดลองลงมือทำอย่างรอบด้าน เพื่อยืนยันว่าความคิดแบบเด็ก ๆ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง


ภายใต้โครงการฯ มีการสนับสนุนทุนกลุ่มเด็กเยาวชนในพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน 25 โครงการให้ดำเนินกิจกรรม “สร้างเสริมสุขภาพและกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองสุขภาวะ” เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่คิดค้นสร้างสรรค์กิจกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่เรียนรู้ ใช้พลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อสุขภาพที่ดี และมุ่งเน้นให้มีการกระจายพื้นที่ไปทั่วทุกอำเภอในจังหวัดลำปาง เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เพื่อการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองสุขภาวะ (Healthy City) เมืองที่สมบูรณ์ทั้งสุขภาพคน ผู้คน ประเพณี วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นที่เด็กและเยาวชนอาศัยอยู่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) ตลอดกระบวนการทำงานต้องสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในกลุ่มและสมาชิกภายในชุมชนคนอื่น ๆ เปิดโอกาสให้ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำนวัตกรรมทางสังคมนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นและนำไปสู่การปฏิบัติจริงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป็นกระบวนการที่คนเล็ก ๆ ขับเคลื่อนเมืองเพื่อกำหนดภาพอนาคตการพัฒนาเมืองลำปางที่ชัดเจนต่อไป เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนจังหวัดลำปางมีบทบาทในการพัฒนาสังคม ผ่านกระบวนการสร้างสำนึกความเป็นพลเมือง (Active Citizen) โดยเริ่มต้นจากการฝึกฝนทักษะในระดับบุคคล มีพื้นที่สาธารณะให้ “ปล่อยของ” ที่เป็นพื้นที่แสดงความสามารถที่จะขับเคลื่อนเมืองในฐานะสมาชิกคนสำคัญของจังหวัด เกิดการสร้างกิจกรรมใหม่ มีโอกาสในการร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ให้เป็นพื้นที่การแสดงออกที่สร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนสร้างให้เกิด “นิเวศการเรียนรู้” ที่มีเด็กเยาวชนทั้งในและนอกระบบเข้ามามีส่วนร่วมทำงานร่วมกับผู้ใหญ่จากทุกภาคส่วน โดยหน่วยจัดการเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปางจะทำหน้าที่ “เชื่อมประสาน” ตัวกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้น คือ โอกาส และมากไปกว่านั้นคือการที่ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เด็กและเยาวชนกำลังลงมือทำ นำไปต่อยอด ไม่มองว่าเป็นสิ่งที่คิดมาแบบ “เด็ก ๆ” ในกระบวนการของโครงการ

ประเด็นสนับสนุนทุน เพื่อดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเด็กและเยาวชนในหัวข้อ “พลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์เมืองลำปาง” โดยเลือกอย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ประเด็น ดังนี้

Mental Health เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์

ให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ดี ต่อสุขภาพจิต ทั้งในโรงเรียน ชุมชน สถานพินิจ สถานสงเคราะห์ และอื่น ๆ การส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต มีความรอบรู้ เท่าทัน ร้องขอความต้องการ จัดการและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม การส่งเสริมความเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของคน เข้าใจตัวเองและผู้อื่น การสร้างและสานความสัมพันธ์ การเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต สร้างแกนนำและเครือข่ายดูแลสุขภาพจิต

Environment การลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

จัดกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้และรับมือต่อปัญหามลพิษทางอากาศกับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนและพื้นที่เป้าหมาย สร้างทัศนคติที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในการมีส่วนร่วมในการป้องการและรับมือกับปัญหามลพิษทางอากาศ เปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดลำปาง มีโอกาสได้สะท้อนความคิดความเห็นต่อประเด็นปัญหามลพิษทางอากาศในระดับพื้นที่ เช่น จัดเวทีให้เด็กและเยาวชนเขียนข้อเสนอต่อปัญหาต่อผู้มีอำนาจในการผลักดันเชิงนโยบายระดับพื้นที่ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีแนวทาง/นวัตกรรม/การจัดการและรับมือต่อปัญหามลพิษทางอากาศตามศักยภาพของตนเอง ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในการการสร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน มีแนวทางป้องกันและรับมือกับมลพิษ

Health Literacy ความรอบรู้ด้านสุขภาพ/ทักษะชีวิตที่พร้อมรับมือปัญหาสุขภาพ

เพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบในเด็กและเยาวชน เช่น การใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ เพศ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระท่อม การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ใช้สารเสพติด ติดเกม เล่นการพนัน รวมถึงการไม่รู้เท่าทันสื่อ ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต โดยส่งเสริมทักษะชีวิตให้มีความสามารถที่จะรับมือกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่คุกคามสุขภาวะ โดยเฉพาะทักษะด้านสุขภาพ ให้เป็นผู้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทันเหตุการณ์ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีวิจารณญาณต่อการรับข้อมูลรวมถึงการตัดสินใจที่จะตอบรับหรือปฏิเสธอย่างชัดเจน สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมถึงสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ผ่านการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย

คุณสมบัติผู้ร่วมโครงการ

1. เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนในจังหวัดลำปาง รวมกลุ่มกันไม่น้อยกว่า 5 คน มีช่วงอายุตั้งแต่ 10 ปี (ประถมศึกษาปีที่ 4) ถึง อายุ 25 ปี ที่มาจาก

1.1   เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา

1.2   เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา


2. เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการสนับสนุนทุนจาก สสส. ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2564 - 2566) หรือ


3. เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนกลุ่มเดิมหรือพื้นที่เดิมที่ยังเคยได้รับการสนับสนุนทุนจาก สสส. ในปีที่ผ่านมา (จากการสนับสนุนของหน่วยจัดการเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปางในปีที่ผ่านมา)


4. กลุ่มเด็กและเยาวชนต้องมีพี่เลี้ยงไม่น้อยกว่า 1 คน (ที่ปรึกษา)


5. ต้องมีหน่วยงานภาคี ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นพัฒนานั้น ๆ อย่างน้อย 1 องค์กร เข้าร่วม เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและขยายผลการดำเนินงานกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้มากขึ้น

พื้นที่ดำเนินการ

จำนวนการสนับสนุนโครงการ : 25 โครงการ


งบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ

 


ระยะเวลาดำเนินโครงการ

: 6 เดือน (กรกฎาคม 2567 - มกราคม 2568)

**กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง ยกเว้น 2 กลุ่มนี้ ที่ไม่สามารถส่งข้อเสนอโครงการกับ Lampang MOVE ได้

ปฏิทินการรับสมัครและปฏิทินโครงการ

การส่งข้อเสนอโครงการ

จัดทำข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Concept Idea) ที่มีเนื้อหา 4 ส่วน ได้แก่

 

โดยเลือกจัดทำเป็นสื่อในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้ 

 

ส่งข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Concept Idea) ที่ : https://forms.gle/fTssdxcF6BESde5o7

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ผู้ประสานงานกิจกรรมโครงการเยาวชน คุณนภาพร ขยันดี (ปุ๋ย) โทรศัพท์ 0857125354

หรือ Line OA @cocokajai >> https://lin.ee/HIWO52N

หรือ Facebook Page : LAMPANG MOVE >> https://www.facebook.com/lampangmove

หรือ Instagram @LAMPAMG_MOVE >> https://www.instagram.com/lampang_move